รับทําเว็บไซต์ รับทําseo
บทความที่น่าสนใจ

บทความ ที่น่าสนใจ

ขั้นตอนการเทรดตราสารทุน มีอะไรบ้าง?

    1. กำหนดวัตถุประสงค์และระยะเวลาการลงทุน ขั้นตอนแรกสุดและสำคัญสุดของการเทรดตราสารทุนคือการวางแผนการลงทุน โดยนักลงทุนต้องกำหนดวัตถุประสงค์การลงทุนของตนว่า การลงทุนในตราสารทุนของตนมีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร เนื่องจากเป้าหมายการลงทุนที่แตกต่างกัน ย่อมส่งผลต่อผลตอบแทน และความเสี่ยงที่แตกต่างกัน

     2. วิเคราะห์เศรษฐกิจ การที่นักลงทุนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจในเบื้องต้นได้ว่าช่วงเวลานี้เศรษฐกิจของประเทศ หรือเศรษฐกิจของโลกอยู่ในช่วงขาขึ้นหรือขาลง จะทำให้นักลงทุนทราบว่าช่วงเวลานี้เหมาะสมที่จะลงทุนหรือไม่ และในกรณีที่นักลงทุนยังต้องการจะลงทุน นักลงทุนควรจะมีกลยุทธ์การลงทุนอย่างไร ตัวอย่างเช่น ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก นักลงทุนอาจลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นสามัญลง เนื่องจากในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผลประกอบการโดยรวมของบริษัทส่วนใหญ่มักจะเป็นไปในทิศทางที่ไม่ค่อยดี ดังนั้น ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนอาจจะลดลงจนไม่สามารถชดเชยกับความเสี่ยงที่นักลง ทุนต้องเผชิญจากการลงทุนในหุ้นสามัญได้ ซึ่งเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจจะขอกล่าวในหัวข้อ "วิเคราะห์แบบพื้นฐาน: ข้อมูลเศรษฐกิจ" 

    3. วิเคราะห์อุตสาหกรรม นอกจากการทำความเข้าใจภาวะเศรษฐกิจของประเทศหรือเศรษฐกิจของโลกแล้ว นักลงทุนยังต้องทำความเข้าใจข้อมูลอุตสาหกรรมอีกด้วย เนื่องจากตัวแปรทางเศรษฐกิจมักจะกระทบต่ออุตสาหกรรมแต่ละอุตสาหกรรมไม่เท่า กัน ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรมอย่างละเอียดจะมีส่วนช่วยนักลงทุนอย่างมาก ในการตัดสินใจเลือกบริษัทลงทุน ตัวอย่างเช่น ในช่วงที่เศรษฐกิจขาลง อุตสาหกรรมอาหารและยาจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าอุตสาหกรรมยานยนต์หรืออุตสาหกรรมท่องเที่ยว เนื่องจากอาหารและยาเป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้น ความต้องการซื้อของผู้บริโภคยังคงมีอยู่ ทำให้รายได้ของบริษัทในอุตสาหกรรมเหล่านี้ลดลงไม่มากเท่ากับรายได้ของบริษัทในอุตสาหกรรมยานยนต์หรืออุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ผู้ บริโภคมักมองว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย เมื่อเศรษฐกิจไม่ดีก็จะลดการบริโภคในสินค้าเหล่านี้

    4. วิเคราะห์บริษัท เมื่อนักลงทุนวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลสุดท้ายที่นักลงทุนควรวิเคราะห์ก่อนการตัดสินใจลงทุน คือ การวิเคราะห์ข้อมูลบริษัท เพื่อตัดสินใจว่าเราจะเลือกลงทุนในบริษัทใด เนื่องจากบริษัทแต่ละบริษัทย่อมมีลักษณะการดำเนินงานที่แตกต่างกัน ผลประกอบการที่แตกต่างกัน ปัจจัยเอื้อประโยชน์ และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่างกัน ดังนั้น การตัดสินใจเลือกบริษัทที่ถูกต้องก็จะทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนตามที่ตนคาดการณ์ไว้ แต่ถ้านักลงทุนตัดสินใจผิดก็อาจจะทำให้ได้รับผลตอบแทนต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ หรือขาดทุนจากการลงทุน
    ก็เป็นได้ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์บริษัทจะขอกล่าวในหัวข้อ "วิเคราะห์แบบพื้นฐาน: ข้อมูลบริษัท"

    5. ประเมินมูลค่าที่แท้จริง ขั้นตอนถัดมาคือการประเมินหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นสามัญเพื่อใช้ในการตัดสินใจว่านักลงทุนควรจะซื้อหรือขายหุ้นตัวนี้ดี

    โดยเกณฑ์การตัดสินใจคือ
    ถ้ามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นสามัญที่ได้จากการประเมิน มากกว่าราคาตลาดปัจจุบัน นักลงทุนควรตัดสินใจซื้อหุ้นสามัญตัวนั้น เพราะราคาหุ้นในปัจจุบันถูกกว่ามูลค่าของตัวมันเอง

    ถ้ามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นสามัญที่ได้จากการประเมิน น้อยกว่าราคาตลาดในปัจจุบันนักลงทุนก็ไม่ควรซื้อหุ้นสามัญตัวนั้น หรือในกรณีที่นักลงทุนมีหุ้นสามัญอยู่ในมือแล้ว ก็ควรขายทิ้ง เพราะราคาหุ้นในปัจจุบันแพงกว่ามูลค่าของตัวมันเอง

    6. หาจังหวะการลงทุน เมื่อเราทราบแล้วว่า ราคาหุ้นในปัจจุบันต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Under Value) สิ่งที่นักลงทุนควรทำคือการตัดสินใจซื้อ แต่นักลงทุนอาจเกิดคำถามต่อว่า แล้วเราควรจะ ซื้อตอนไหนดี?

    โดยปกติเวลาเราซื้อของย่อมอยากซื้อของในราคาต่ำ การซื้อหุ้นก็เช่นเดียวกัน นักลงทุนคงอยากได้ราคาหุ้นที่ต่ำ ซึ่งการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคจะช่วยให้นักลงทุนคาดการณ์ได้ว่าควรจะซื้อ หุ้นในช่วงใด ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราอยากขายของเราย่อมอยากขายได้ราคาแพง นักลงทุนก็เช่นเดียวกัน เมื่ออยากจะขายหุ้นเพราะเห็นว่าราคาตลาดในปัจจุบันสูงเกินกว่ามูลค่าที่แท้จริงไปแล้ว (Over Value) การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคก็ช่วยตอบคำถามนักลงทุนได้ว่าควรตัดสินใจขายหุ้นในช่วงใด

    7. ตัดสินใจซื้อขาย หลังจากที่นักลงทุนทำการวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมประเมินมูลค่าและหาจังหวะในการลงทุนเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือ การตัดสินใจซื้อขาย

    โดยนักลงทุนต้องส่งคำสั่งซื้อหรือขายผ่านบริษัทหลักทรัพย์ ที่เป็นสมาชิก หรือโบรกเกอร์เท่านั้น ดังนั้น นักลงทุนทุกคนจะต้องเปิดบัญชีกับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อใช้ในการส่งคำสั่ง ซื้อหรือขาย โดยโบรกเกอร์แต่ละแห่งจะมีเงื่อนไขในการพิจารณาเปิดบัญชีให้แก่ลูกค้าแต่ละ รายแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของบริษัทหลักทรัพย์

    8. ติดตามผลการลงทุน ภายหลังจากที่นักลงทุนตัดสินใจซื้อหรือขายเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่นักลงทุนควรทำในลำดับถัดมาคือการติดตามผล กล่าวคือเป็นการหมั่นตรวจสอบสถานะการลงทุนของตนว่าเป็นไปตามเป้าหมายการลงทุนที่ตนกำหนดไว้ตอนต้นหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ทีกำหนดไว้ นักลงทุนจะได้ปรับปรุงแก้ไขวิธีการลงทุนของตนให้ทันเวลา

     

บทความที่น่าสนใจ

บทความ ล่าสุด

บทความ ความรู้ด้านไอที, คอมพิวเตอร์ Techonlogy, Gadget, ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กับทาง SoftMelt.com