หุ้นสามัญ เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน ซึ่งออกโดยบริษัทที่มีความต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน เพื่อให้ผู้ลงทุนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในธุรกิจนั้นโดยตรง ซึ่งผู้ที่ลงทุนในหุ้นสามัญจะได้รับสิทธิต่างๆ และผลตอบแทนจากการลงทุน
สิทธิของผู้ถือหุ้นสามัญ
- สิทธิในการบริหารจัดการงานของบริษัทผ่านการลงคะแนนเสียง
ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เช่น การเลือกตั้งกรรมการบริหาร การเพิ่มทุน การจ่ายเงินปันผล การครอบงำกิจการ เป็นต้น
- สิทธิในการได้รับผลตอบแทนจากกำไรของบริษัท เมื่อบริษัทมีกำไรจากการดำเนินงาน และต้องการการกระจายกำไรนั้นไปสู่ผู้ถือหุ้น บริษัทจะประกาศจ่ายผลตอบแทนให้แก่นักลงทุนในรูปของ
- เงินปันผล
- ในกรณีที่บริษัทมีการเพิ่มทุนจดทะเบียน ผู้ถือหุ้นเดิมจะได้รับสิทธิในการจองซื้อหุ้นใหม่ก่อนผู้ถือหุ้นรายอื่น เพื่อให้สัดส่วนในการ ถือครองหุ้นของตนเท่าเดิม และเป็นการปกป้องสิทธิของตนทั้งในเรื่องการออกเสียง และการได้รับผลตอบแทน
- ในกรณีที่กิจการล้มละลาย ผู้ถือหุ้นยังมีสิทธิจะได้รับส่วนแบ่งที่เหลือของกิจการภายหลังการจ่ายภาระผูกพันแก่เจ้าหนี้รายอื่นๆ
ผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นสามัญ ประกอบด้วย 2 รูปแบบ คือ
1.ผลตอบแทนในรูปเงินปันผล
เป็นผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นจะได้โดยตรงในกรณีที่บริษัทมีกำไร
ซึ่งผลตอบแทนประเภทนี้จะขึ้นอยู่กับความสามารถของบริษัทในการ
ทำกำไร กล่าวคือ ในปีใดที่บริษัทมีกำไรมาก ผู้ถือหุ้นอาจจะได้
ผลตอบแทนในรูปเงินปันผลมากขึ้น แต่ในปีใดที่บริษัทมีกำไรน้อย
หรือขาดทุน ผู้ถือหุ้นอาจจะได้เงินปันผลน้อยลงหรือไม่ได้เลยก็ได้
ผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นสามัญ
2.ผลตอบแทนในรูปส่วนต่างราคา เป็นผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นจะได้ ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นขายหุ้นสามัญดังกล่าวไปยังบุคคลอื่น
ในราคาที่สูงกว่าตอนที่ตนซื้อมา
ความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นสามัญ
การลงทุนใดๆ ก็ตามย่อมมีความเสี่ยง การลงทุนในหุ้นสามัญ
ก็เช่นเดียวกัน ในหัวข้อก่อนหน้าได้กล่าวถึงผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นสามัญ นักลงทุนคงรับรู้ถึงความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่เกิดจากการลงทุนแล้ว นั่นก็คือความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่ตนคาดการณ์ไว้
ในหัวข้อนี้จะสรุปสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ที่ส่งผลให้นักลงทุนไม่ได้รับ
ผลตอบแทนตามที่คาดการณ์ไว้ (ทั้งผลตอบแทนในรูปเงินปันผล
หรือในรูปส่วนต่างราคา)
1. ความเสี่ยงทางธุรกิจ เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากลักษณะของธุรกิจนั้นๆ เช่น ประเภทธุรกิจ โครงสร้างรายได้ ค่าใช้จ่ายของกิจการ ทั้งนี้ความเสี่ยงทางธุรกิจเกิดขึ้นจากการที่บริษัทตัดสินใจการลงทุนใน สินทรัพย์ถาวร กล่าวคือถ้ากิจการใดมีการ
ลงทุนในสินทรัพย์ถาวรจำนวนมาก ผลที่ตามมาคือจะทำให้กิจการนั้นมีรายการค่าเสื่อมราคา ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายคงที่จำนวนมาก
ในทางตรงกันข้าม หากกิจการมีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรน้อย รายการค่าเสื่อมราคาซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ก็จะน้อยตามไปด้วย ซึ่งการที่กิจการมีต้นทุนคงที่จำนวนมาก เมื่อยอดขายไม่เป็นไปตามที่คาด แต่ภาระค่าใช้จ่ายยังคงที่เท่าเดิม ก็จะทำให้กำไรของกิจการติดลบอย่างมากในปีที่ยอดขายลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ผลตอบแทนที่นักลงทุนคาดว่าจะได้รับจากการลงทุนลดลงไปด้วย
2. ความเสี่ยงทางการเงิน เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการที่กิจการสร้างภาระผูกพันทางการเงินไว้ เช่น การก่อหนี้
ถ้ากิจการใดมีการก่อหนี้จำนวนมาก กิจการนั้นก็จะมีภาระการจ่ายดอกเบี้ย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายคงที่จำนวนมาก หากกิจการ
ไม่สามารถทำกำไรได้ตามเป้าที่วางไว้ กำไรของกิจการก็จะไม่เพียงพอที่จะจ่ายดอกเบี้ยได้ เมื่อกิจการไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ย
ตามภาระผูกพันได้ ก็ทำให้บริษัทมีความเสี่ยงที่อาจจะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้
ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทน
อย่างไรก็ตามนักลงทุนควรตระหนักไว้เสมอว่าการลงทุนใดๆ ย่อมมี
ความเสี่ยง และโดยปกติแล้วการลงทุนใดที่มีความเสี่ยงสูง นักลงทุนมักขอ
ส่วนชดเชยความเสี่ยงที่สูงขึ้น นั่นก็คือคาดหวังผลตอบแทนที่ต้องการสูงขึ้น
นั่นเอง และการลงทุนใดที่มีความเสี่ยงต่ำย่อมคาดหวังผลตอบแทนทึ่ต้องการ
ต่ำด้วยเช่นเดียวกัน