Laravel คือ PHP Framework ที่เต็มเปลี่ยมไปด้วยพลังที่ทำให้คุณสามารถเขียนโค๊ดที่ดูสะอาดตาและสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้โดยง่าย ยังสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี ออกแบบมาเพื่อพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นในรูปแบบ MVC พัฒนาโดยมีผู้นำทีมคือนาย Taylor Otwell ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ MIT และ source code ได้ถูกเก็บไว้บน host ของ Github
ลักษณะเด่นของ Laravel
- Bundle (สิ่งที่บรรจุมาด้วยกัน) Laravel ได้มาพร้อมกับ แพคเก็จของระบบ ที่ทำให้เราสามารถนำมาใช้กับ เว็บแอพลิเคชั่นของเราได้เลย จึงทำให้เราประหยัดเวลาในการเขียนโค๊ด และ ลดจำนวนการเขียนโค๊ดลงอย่างมาก
- Class Autoloading (โหลด Class อัตโนมัติ) ระบบจะทำการโหลด Class ของ PHP มาใช้งานอัตโนมัติ โดยไม่ต้องกำหนดค่าการโหลดใช้งานเอง ในการโหลดระบบจะป้องกันการโหลดในส่วนประกอบ (component) ที่ไม่ใช้งาน และ จะเลือกโหลดเฉพาะส่วนประกอบที่นำมาใช้งานเท่านั้น
- View Composer (ส่วนของ View) ส่วนนี้จะเป็นส่วนของโค๊ด(HTML) ที่นำมาเรียงติดต่อกัน และจะทำงาน (run) หลังจากประกอบกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว เช่นเราแบ่งส่วน header,container, sidebar, footer เป็นต้น
- Unit testing (หน่วยทดสอบ) Laravel ยินยอมให้ผู้ใช้งานสามารถสร้าง unit test ขึ้นมาเพิอทดสอบงานของตัวเองได้โดยผ่าน Artisan utility.
- The Eloquent ORM (ชุดคำสั่งในการ Query) เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการ Query ข้อมูลต่างๆ ในฐานข้อมูล
- Reverse Routing (เราท์ติ้งค์) ในส่วนนี้จะทำให้คุณสามารถกำหนดชื่อของ URL เพื่อทีจะชี้ไปยังส่วนต่างๆตามต้องการ
- Restful Controller (กรองชนิดตามการส่งคำขอ) ช่วยให้เราสามารถกรองชนิดการส่งคำร้องขอจากฟอร์มทั้งแบบ Post และ Get
- The IoC container (Inversion of Control) เป็นส่วนในการจัดเก็บ Library ภายนอกที่เราจะนำเข้ามาใช้
การติดตั้ง
1. Download Laravel
2. แตกไฟล์ไปวางที่ server
3. เข้าไปที่ config/application.php เพื่อกำหนดค่ากุญแจที่จะนำไปใช้ในคลาส cookie,hash,string,encryption
4. ตรวจดูว่าโฟลเดอร์ storage/views ได้รับอนุญาตให้เขียนได้
5. เข้าไปที่ 127.0.0.1/laravel/public ถ้าไม่มีปัญหาเราจะได้เห็นหน้าแรกของ laravel
ถ้ามีปัญหา ลองดูตามข้างล่างนี้ก่อนครับ
· ถ้าเซต mod_rewriteไปแล้ว ก็ต้องตั้งค่า index option ใน application/config/application.php ให้เป็นค่าว่าง
· ตรวจดูว่าทุกโฟลเดอร์ของ laravel ได้รับอนุญาตให้เขียนได้ ถ้าเป็นอย่างอื่นก็ google only ครับ
การตั้งค่า Server
การตั้งค่า MOD_VHOST ผมไม่ขออธิบายมาก ไปดูที่เว็บนี้เลยครับ http://www.select2web.com/php/create-virtual-host.html แต่ในกรณีของ laravel ตรง DocumentRoot ให้จบลงตรงโฟลเดอร์ public นะครับ
การตั้งค่าพื้นฐาน
เริ่มแรกก็เข้าไปที่ไฟล์ application.php เพื่อทำการตั้งค่าพื้นฐานนะครับ ในภาพ url คือ
ตั้งค่า url ของ web ของเรานะครับ asset_url คือเอาไว้ลิ้งไฟล์ js css image ที่มาจากทีอื่น
ในกรณีที่ไฟล์ไม่อยู่บนโฮสของเรานะครับ
ตรง index ในภาพคือเราต้องการให้เวลาเราเรียก url ต้องการให้มีคำว่า index.php ติดท้ายมาด้วยหรือไม่ ถ้าเซต mod_rewrite แล้วก็ทำให้เป็นเหมือนในภาพเลยครับ
การตั้งค่าพื้นฐานหลายๆแบบ
บางครั้งเราก็อยากทดสอบการตั้งค่าแบบหลายๆ แบบ เราก็สามารถเข้าไปตั้งค่าได้ที่ไฟล์ path.php
Code (PHP)
$environments = array(
'local' => array('http://localhost*', '*.dev'),
);
เราต้องเข้าไปสร้าง โฟลเดอร์ local ที่ application/config/ ก่อนนะครับ แล้วค่อยสร้าง ไฟล์ application.php หรือ database.php ไว้
เป็นการบอกให้ laravel รู้ว่าเมื่อเรารียกใช้งาน url localhost แล้วจบด้วย .dev การตั้งค่าทั้งหมดจะถูกไปเรียกใช้จากโฟลเดอร์ local แทน ยกตัวอย่าง เหมือนภาพข้างล่าง เราเปลี่ยน url ของ เว็บใหม่
Code (PHP)
return array(
'url' => 'http://localhost/laravel/public',
);