ตราสารหนี้ (Debt Instrument หรือ Fixed Income Securities) คือ
ตราสารทางการเงินที่ผู้ออกตราสารซึ่งเรียกว่า ผู้กู้หรือลูกหนี้ มีข้อผูกพันทางกฎหมายว่าจะจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเป็นงวดๆ และเงินต้น หรือผลประโยชน์อื่นๆ
ตามข้อกำหนดในตราสารให้แก่ผู้ซื้อซึ่งเรียกว่า ผู้ให้กู้หรือเจ้าหนี้ เมื่อครบกำหนดที่
ตกลงกันไว้ โดยระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอนของตราสารหนี้นั้นจะมีตั้งแต่ระยะสั้น
(ไม่เกินหนึ่งปี) ระยะปานกลาง (หนึ่งถึงห้าปี) ไปจนถึงระยะยาว (เกินห้าปีขึ้นไป)
กรณีตราสารหนี้ในตลาดทุนโดยทั่วไปมักจะหมายถึงตราสารที่มีอายุไถ่ถอนมากกว่า
หนึ่งปีขึ้นไป โดยผู้ซื้อจะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย ส่วนลดรับ หรือ
ผลประโยชน์อื่นตามที่ได้มีการกำหนดไว้
|
|
การใช้คำว่า “ตราสารหนี้” ก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเปลี่ยนมือของผู้ถือ (นักลงทุนในตราสารหนี้) ซึ่งแตกต่างจากสัญญากู้ยืมที่แสดงความเป็น “เจ้าหนี้” และ “ลูกหนี้” ของผู้ให้กู้กับผู้กู้เงินเหมือนกัน แต่สัญญากู้ยืมเงินนั้นขาดความสามารถ
ในการเปลี่ยนมือของความเป็นเจ้าหนี้ระหว่างนักลงทุน ทั้งนี้ การเปลี่ยนมือของตราสารหนี้ระหว่างนักลงทุนนั้นสามารถทำผ่าน
กลไกตลาดรอง (secondary market) ได้ ซึ่งปัจจุบันตลาดรองของตราสารหนี้ก็คือ BEX (Bond Electronic Exchange)
ที่ดำเนินการโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ |
|
ตามความหมายข้างต้นแสดงว่า... "ตราสารหนี้" ก็คือ ตราสารทางการเงินชนิดหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่ต้องการเงินทุน (ผู้กู้) และผู้ที่มีเงินทุนแต่ต้องการผลตอบแทน (ผู้ให้กู้)
ผูกพันกัน โดยมีข้อกำหนดต่างๆ ที่ระบุในสัญญาหุ้นกู้ (Indenture) เป็นกฎกติกา
ร่วมกัน อีกทั้งตราสารหนี้ยังสามารถเปลี่ยนมือกันได้ในตลาดรอง คล้ายๆ กับ
การซื้อขายหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์ฯ
"ตราสารหนี้" เป็นศัพท์กว้างๆ แต่ที่ท่านอาจคุ้นเคยมากกว่า คือ “พันธบัตร” และ “หุ้นกู้” โดยพันธบัตรมักใช้เรียกตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ และ
มักเรียกว่าหุ้นกู้เมื่อออกโดยบริษัทเอกชน แต่ในต่างประเทศใช้คำว่า “Bond” สำหรับตราสารหนี้ทั่วไปทั้งที่ออกโดยรัฐและเอกชน มีในบางกรณีที่เรียกว่า “Debenture” เมื่อตราสารหนี้นั้นไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
ตราสารหนี้จัดว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการลงทุน ซึ่งขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนักลงทุนว่าจะให้ความสนใจต่อ
ช่องทางนี้มากน้อยเพียงใด โดยพิจารณาจากผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับและระดับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้
ส่วนเหตุผลที่ผู้ลงทุนส่วนใหญ่เลือกที่จะลงทุนในตราสารหนี้ สามารถสรุปได้ดังนี้
1. เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำเมื่อเทียบกับตราสารทุน
เพราะได้กำหนดอัตราผลตอบแทนที่ค่อนข้างแน่นอน นักลงทุนสามารถประมาณการณ์กระแสเงินสดที่พึงจะได้รับในอนาคตได้
2. ได้รับผลตอบแทนที่ค่อนข้างคงที่และสม่ำเสมอ
เพราะตราสารหนี้มีการกำหนดจ่ายคูปองไว้ล่วงหน้า
3. เป็นเครื่องมือทางการเงินชนิดหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุน
เนื่องจากการลงทุนในตราสารทุนไม่สามารถประมาณการรายได้จากเงินปันผลหรือส่วนต่างกำไร (Capital Gain / Loss)
ที่แน่นอนได้ และปกติตราสารหนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงด้านราคา (Volatility) น้อยกว่าตราสารทุน
4. มีตลาดรองรองรับ (Marketability)
การซื้อขายเปลี่ยนมือ และหากเป็นตราสารที่มีคุณภาพดี เช่น ผู้ออกตราสารเป็นรัฐบาลหรือบริษัทเอกชนที่มีฐานะการเงิน
มั่นคงก็จะทำให้ตราสารหนี้นั้นมีสภาพคล่อง (Liquidity)
5. ใช้เป็นส่วนหนึ่งในการดำรงสินทรัพย์
สภาพคล่องตามกฎหมายสำหรับธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน
6. สามารถนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ
เช่น ใช้ค้ำประกันธุรกิจ ค้ำประกันผู้ต้องหา ใช้ในการบริหารเงินนอกงบประมาณสำหรับหน่วยราชการ เป็นต้น ทั้งนี้ ข้อ 5 และข้อ 6 จะเป็นในกรณีเฉพาะตราสารหนี้จากภาครัฐ
ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน
|
ตราสารหนี้
|
ตราสารทุน
|
1. สิทธิในการเรียกร้อง
(Priority Claim) |
ผู้ถือตราสารหนี้ซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ีสิทธิ
ในการเรียกร้องสูงกว่าผู้ถือตราสารทุน
ซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าของบริษัท หากบริษัทมีปัญหาทางการเงินหรือถูกฟ้องล้มละลาย บริษัทจะต้องขายทอดตลาดสินทรัพย์ และชำระบัญชี โดยนำเงินที่ได้จากการ
ขายทอดตลาดชำระคืนให้แก่ผู้ถือ
ตราสารหนี้ก่อนผู้ถือตราสารทุน |
ผู้ถือตราสารทุนซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าของบริษัทมีสิทธิในการเรียกร้องต่ำกว่าผู้ถือ
ตราสารหนี้ โดยจะได้รับชำระเมื่อบริษัทชำระคืนให้แก่ผู้ถือตราสารหนี้ (เจ้าหนี้)
ครบถ้วนแล้ว |
2. ความเป็นเจ้าของ
(Ownership) |
ผู้ถือตราสารหนี้ไม่มีสิทธิออกเสียงในการประชุมหรือการตัดสินใจในการดำเนินงานของบริษัท เนื่องจากอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ไม่ใช่
เจ้าของบริษัท |
ผู้ถือตราสารทุน มีสิทธิออกเสียงในการประชุมหรือการตัดสินใจในการดำเนินงานของบริษัทเนื่องจากอยู่ในฐานะเจ้าของบริษัท |
3. ผลตอบแทน
(Return) |
ตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้าง
สม่ำเสมอ ในรูปกระแสเงินสดที่เป็นดอกเบี้ย
ตามระยะเวลาที่กำหนด |
ตราสารทุนให้ผลตอบแทนที่อาจ
ไม่สม่ำเสมอในรูปกระแสเงินสดที่เป็น
เงินปันผล ซึ่งขึ้นอยู่กับผลกำไรและนโยบายของบริษัท |
4. อายุของตราสาร |
มีระยะเวลาที่กำหนดไว้แน่นอน กล่าวคือ
มีอายุจำกัด |
อายุของตราสารทุนไม่จำกัด |
|
รายได้จากดอกเบี้ย
|
กำไรจากการขาย
|
รายได้จากส่วนลด
|
|
หักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
และมีสิทธิเลือกที่จะ
ไม่นำไปรวมคำนวณ
ภาษีรายได้สิ้นปี |
หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% และมีสิทธิเลือก
ที่จะไม่นำไปรวมคำนวณภาษีรายได้สิ้นปี (ยกเว้นตราสารหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ยซึ่ง
ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ไปแล้วจาก
ผู้ถือคนแรก) |
หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% เฉพาะผู้ถือคนแรก
และมีสิทธิเลือกที่จะไม่นำไปรวมคำนวณ ภาษีรายได้สิ้นปี |