ไม่ว่าใครก็คงเคยซื้อสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ หลายๆ คนที่เคยสั่งสินค้าจากประเทศอื่นด้วยตนเองอาจจะทราบดีว่าเมื่อส่งเข้ามาแล้วก็มักจะต้องจ่ายภาษีอากรขาเข้า แม้จะเป็นของใช้ส่วนตัว ของขวัญ หรือของฝากก็ตามหากสินค้าที่ส่งเข้าประเทศมีมูลค่าเกิน 1,000 บาทและไม่เกิน 40,000 บาท ซึ่งหากสินค้าที่มีมูลค่าสูงเกิน 40,000 บาทก็จะต้องมีขั้นตอนเพิ่มเติมในการจัดทำใบขนส่งสินค้าขานำเข้า
สำหรับการจำหน่ายสินค้าจากต่างประเทศนั้นหากเป็นแบบพรีออร์เดอร์ หลังจากที่เราได้รับรายการสั่งซื้อมาเรียบร้อยแล้วเราก็ต้องไปสั่งซื้อสิน ค้าในเว็บของต่างประเทศเป้าหมายอีกที ก่อนที่เราจะนำสินค้านั้นไปให้กับลูกค้า แต่สำหรับการนำสินค้าเข้าประเทศไทยนั้นจะต้องทำอย่างไรมีหลายคนเป็นกังวลใน ด้านนี้เพราะว่ายังไม่เคยซื้อสินค้าจากต่างประเทสนั่นเอง ซึ่งการนำเข้าสิ้นค้าในแต่ละชนิดมีความแตกต่างไม่ว่าจะระยะทางหรือว่าคิด ตามน้ำหนักเพราะว่าบางอย่างอาจจะจำกัดสินค้านำเข้าหากนำเข้าต้องทำการตรวจ สอบอย่างละเอียด การจัดส่งและการสั่งซื้อมี 2 รูปแบบในปัจจุบัน ได้แก่การสั่งซื้อค้าเองโดยตรง กับให้ตัวแทนหรือว่าชิปปิ้งสั่งซื้อให้
รูปแบบที่ 1 สั่งซื้อสินค้าเอง เหมาะสำหรับประเทศอเมริกาและทางยุโรป
1. ติดต่อชิปปิ้ง การเลือกชิปปิ้งอาจจะค้นหากหรือว่าสอบถามจากการใช้บริการของคนอื่นๆดูนะ ครับ อาจจะหาทาง GooGle ได้เลย อัตตราค่าขนส่งและนำเข้าจะอยู่ในรายละเอียดที่หน้าทั้ง
2. ช่องทางหรือว่ามีหลายรูปแบบการส่งกลับไทยให้เลือก หลักจากติดต่อได้แล้วให้ขอที่อยู่โกดังเก็บของมา
3. สั่งซื้อสินค้าจากทางเว็บ โดยการดำเนินการสั่งซื้อสินค้าจากเว็บต่างๆ ที่มีจำหน่ายสินค้าที่ต้องการ ซึ่งขั้นตอนการจะแตกต่างกันไป เมื่อสั่งซื้อและทำการชำระเงินแล้วจะให้กรอกที่อยู่โกดังรับของตามที่ ชิปปิ้งได้ให้ที่อยู่มาเพื่อจะนำสินค้านั้นไปที่โกดัง ทางร้านอาจจะมีการกำหนดค่าขนส่งหรือว่าจัดส่งฟรีตามเงื่อนไขต่างๆ และระยะเวลาในการส่งด้วย หลังจากนั้นแจ้งให้ชิปปิ้งได้รับเพื่อรอรับสินค้า
4.ชิปปิ้งรับสินค้า ส่งกลับมาที่ไทยสำหรับอัตราค่าบริการนั้นขึ้นอยู่กับสินค้าของเราด้วย อย่างเสื้อผ้า ร้องเท้า อาจจะทำการชั่งเป็นกิโล แล้วคิดตามจำนวนกิโลกรัม หากเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูงหรือว่าเป็นสินค้าที่ไม่ได้อยู่ในรายการที่ส่ง ได้ตามปกติจะทำการตรวจสอบและคิดค่าบริการที่ต่างกันไป หากเป็นประเทศจีนอาจจะเริ่มต้นที่ 80 บาทต่อกิโลกรับ หากเป็นทางอเมริกาอาจจะ 200 บาทขึ้นไปขั้นอยู่กับขนส่งทางไหนบ้าง อาจจะรวมกับค่าประกันสินค้า รวมถึงการรีแพคสินค้า คือการนำเอาสินค้าหลายๆ ชั้นมาอยู่ในกล่องเดียวกันหรือว่าให้มีขนาดที่เหมาะสมเพื่อประหยัดพื้นที่ และค่าขนส่งเพราะว่าบางรายการจะคำนวนจากขนาดของกล่องเข้าไปด้วย สำหรับระยะเวลาการขนส่งขึ้นอยู่กับประเทศและรูแบบการขนส่งอย่างเช่นของจีน อาจจะใช้เวลา 3 – 10 วัน ในของอเมริกาอาจจะใช้เวลา 7 – 30 วัน ขึ้นอยู่กับการปิดรอบของชิปปิ้งด้วย เครื่องบินอาจจะแพงแต่เร็วกกว่าทางรถและเรือ
5. ชิปปิ้งส่งสินค้าถึงเรา เราอาจจะไปรับจากที่โกดังสินค้าก็ได้ หรือให้เขาส่งมายังบ้านหากสินนั้นไม่ใหญ่มากอาจจะส่งมาทางไปรษณีย์หากเป็น สินค้าใหญ่ตามแต่ตกลงซึ่งหากเป็นในกรุงเทพอาจจะจัดส่งมาทางรถ 300 บาทต่อครั้งเป็นต้น เราก็จะได้รับสินค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
รูปแบบที่ 2 ชิปปิ้งสั่งซื้อสินค้าให้
เป็นแบบที่ง่ายแต่ค่าใช้จ่ายจะสูงเพราะว่าคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินที่สูงกว่า ปกติขึ้น ยิ่งสินค้าที่มีราคาแพงอาจจะสูงตามไปด้วย หากต้องการสั่งซื้อสินค้าที่มีจำนวนมากหรือว่ามีมูลค่ามากไม่ควรใช้บริการ รูปแบบนี้ สำหรับขั้นตอนการสั่งซื้อคือการนำลิงค์เว็บเอาไปให้ทางชิปปิ้งสั่งซื้อและ เราก็โอนค่าสินค้าให้กับชิปปิ้ง แล้วทางชิปปิ้งจะสั่งซื้อสินค้า ให้และคำนวณค่าสินค้า หลังจากนั้นค่าบริการขนส่งก็จะเก็บอีกต่างหากแต่มีความสะดวกกว่าที่เราไม่จำ เป็นที่จะสั่งซื้อเองเพราะว่าบางเว็บไม่รับบัตรเครดิตที่ประเทศไทยจึงทำให้ สินค้าบางรายการไม่สามารถที่จะสั่งซื้อได้โดยตรง หลังจากนั้นก็จะส่งสินค้าเข้าไทยและเราก็สามารถที่จะรอรับสินค้าได้เลย มีความสะดวกและรวดเร็วกกว่าในรูปแบบที่ 1 แต่ว่าพ่อแม่ค้ามักไม่ชอบใช้แบบนี้เพราะว่ารายจ่ายจะสูงไป
สิ่งที่เราจะได้รับหลังจากที่ได้ติดต่อกับชิปปิ้งและเราจะได้รับบริการ ต่างๆ อย่างเช่น ได้รับที่อยู่ เบอร์โทร มีการติดตามสถานะ ตรวจสอบสินค้า จำนวนตรงตามต้องการหรือไม่ และพนังงานจะเป็นคนดูแลสินค้าตลอดระยะเวลาการเดินทางของสินค้า นอกจากนั้นยังช่วยเรื่องตามสินค้าต่อรองราคาสินค้าด้วย ตามแต่ได้ตกลงกัน
สำหรับการนำเข้า สินค้าจากต่างประเทศนั้น สินค้าบางประเทศอาจจะต้องเข้มงวดเป็นพิเศษดังนั้นควรที่จะสอบถามจากชิปปิ้ง ด้วย อย่างเช่นอาหาร ยา เครื่องจักร เครื่องใช้ วัตถุโบราณ สาสรเคมี ไม้แปรรูป เพราะว่าสะดวกในการตรวจสอบ