รับทําเว็บไซต์ รับทําseo
บทความที่น่าสนใจ

บทความ ที่น่าสนใจ

การสร้างงานกราฟฟิกด้วย HTML5 Canvas แท็กที่ใช้เปลี่ยนลูกเล่นการแสดงแบบเดิมๆ

    Canvas  คือ Tag ตัวหนึ่งใน HTML5 ซึ่งเป็นคำสั่งใช้ในการสร้างงานกราฟฟิก จะมี Tag สั้นๆ จำง่ายๆ ก็คือ <canvas></canvas>
     
    ข้อดีของ แท็ก Canvas
    ช่วยเปลี่ยนลูกเล่นการแสดงผลของเว็บเพจไปอีกมากเดิมที HTML เป็นการวาดออบเจคต์ (เช่น ข้อความ รูป กล่องข้อความ ฯลฯ) ขึ้นมาเป็นหน้าจอ และสามารถตกแต่งออบเจคต์แต่ละตัวได้ในระดับหนึ่งผ่าน CSS (เช่น ใส่สีพื้น วาดเส้นขอบ ทำมุมโค้ง) แต่ในภาพรวม HTML ยังไม่สามารถแสดงกราฟิกแบบราสเตอร์ (raster) ได้ด้วยตัวมันเอง ต้องทำภาพมาแปะอีกทอดหนึ่ง แท็ก canvas ที่ถูกเพิ่มเข้ามาช่วยให้เราสามารถ "วาดภาพ" ลงบนเว็บเพจได้โดยตรง โดยขอบเขตของภาพที่วาดก็จะอยู่ในออบเจคต์ชื่อ canvas นั่นเอง

    ลักษณะของ canvas แตกต่างจากภาพชนิดอื่นๆ คือ มันไม่ได้จะแสดงได้เป็นภาพนิ่งเท่านั้น แต่มันสามารถเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย และก็ไม่ได้เกิดจากการเรียกไฟล์ภาพขึ้นมาแสดงตรงๆ แต่เป็นการสั่งโดย javascript ทุกๆเส้นหรือทุกๆจุด และทุกๆการเคลื่อนไหวที่เกิดภายใต้ <canvas> เกิดจากการสั่งงานโดย javascript ทั้งสิ้น แล้วนำเข้ามาโชว์ด้วยการเรียกผ่าน id ของ <canvas> เข้าไป

    1.การสร้างกรอบสี่เหลี่ยม

     
    <canvas id="myCanvas" width="200" height="100" style="border:5px solid pink;">
    </canvas>
     
    ตัวอย่างที่ 1 การสร้างกรอบสี่เหลี่ยม
     
    <html>
    <body>
    <canvas id="ExCanvas" width="200" height="100"
    style="border:5px solid pink;">
    Your browser does not support the canvas element.
    </canvas>
    </body>
    </html>

    จาก HTML ด้านบน เป็นการเรียกให้ canvas id=ExCanvas มาแสดง โดยกำหนดพื้นที่ในการแสดงกว้าง 200 px และสูง 100 px มีกรอบล้อมรอบสีชมพูหนา 5 px

    ในกรณีที่ browser ที่ใช้ไม่ support <canvas> จะขึ้นข้อความ Your browser does not support the canvas element

    2.การสร้างรูปสี่เหลี่ยม
     
    <script>
      ctx.rect(x, y, width, height);
    </script>
     
    จากดโครงสร้างด้านบน  ใช้ rect() ในการสร้างรูปสี่เหลี่ยม และวางตำแหน่งรูปที่จุด x,y  โดยให้รูปขนาด กว้างและยาว เป็น width , height

    ตัวอย่างที่ 2 การสร้างรูปสี่เหลี่ยม
    <html>
    <html>
    <body>
    <canvas id="myCanvas" width="200" height="100"
    style="border:5px solid pink;">
    Your browser does not support the canvas element.
    </canvas>
    <script>
    var c=document.getElementById("myCanvas");
    var ctx=c.getContext("2d");
    ctx.fillStyle="red";
    ctx.fillRect(0,0,150,75);
    </script>
    </body>
    </html>
       
    จากตัวอย่างที่ 2 จะเห็นว่าชุดคำสั่ง JavaScript ชุดนี้ได้เข้าถึง Element ที่ ID ที่ชื่อว่า myCanvas นั้นเอง สังเกตได้จากบรรทัด var c=document.getElementById("myCanvas");  (myCanvas ในที่นี้คือตัวกรอบสีชมพูที่เราสร้างไว้ก่อนแล้ว)

    จากนั้นเมื่อหา Element ดังกล่าวเจอก็จะทำการสร้าง context object ขึ้นมา
    var cxt=c.getContext("2d");  คำสั่งบรรทัดนี้ ตรง getContext(?2d?) เป็น built-in object ที่มาพร้อมกับ HTML5 ซึ่งจะประกอบไปด้วยคำสั่งต่างๆ เช่น คำสั่งวาดเส้นตรง วงกลม รูปสี่เหลี่ม ตัวหนังสือ รูปภาพ หรืออื่นๆ

    ต่อมาก็เป็นการสร้างรูปสี่เหลี่ยมพื่นภาพสีแดงขึ้นมา
    fillStyle นั้นเป้นการกำหนดสีแดงลงไป ส่วน fillRect เป็นการกำหนด รูปร่าง ตำแหน่ง แล้วก็ขนาดของวัตถุ

    cxt.fillStyle="red";
    cxt.fillRect(0,0,150,75);
         
    ในที่นี้ cxt.fillRect(0,0,150,75); นี่หมายถึง รูปอยู่ที่จุด (x,y)=(0,0)  และมีขนาดกว้าง 150 px ,  ยาว 75 px
    ***(cxt. หรือ context.  เป็นชุดคั่งสั่งของ JavaScript)

    3.การสร้างเส้นตรง
     
    <script>
      ctx.beginPath();
      cntx.moveTo(x,y);
      cntx.lineTo(x,y);
      cntx.stroke();
      ctx.closePath();
    </script>

    ตัวอย่างที่ 3 การสร้างเส้นตรง
    <html>
    <body>
    <canvas id="myCanvas" width="200" height="100"
    style="border:5px solid pink;">
    Your browser does not support the canvas element.
    </canvas>
    <script>
    var c=document.getElementById("myCanvas");
    var ctx=c.getContext("2d");
    ctx.beginPath();
    ctx.moveTo(0,0);
    ctx.lineTo(200,100);
    ctx.stroke();
    ctx.closePath();
    </script>
    </body>
    </html>

    4.การสร้างวงกลม
     
    <script>
      cntx.arc(x, y, radius, 0 , 2 * Math.PI, false);
    </script>

    ตัวอย่างที่ 4 การสร้างรูปวงกลม
    <html>
    <body>
    <canvas id="myCanvas" width="200" height="100"
    style="border:5px solid pink;">
    Your browser does not support the canvas element.
    </canvas>
    <script>
    var c=document.getElementById("myCanvas");
    var ctx=c.getContext("2d");
    ctx.beginPath();
    ctx.arc(95,50,40,0,2*Math.PI);
    ctx.stroke();
    </script>
    </body>
    </html>

    5.การใส่ต้วอักษร
     
    <script>
      cntx.font = 'italic 40px Calibri';
      cntx.fillText(str, x, y);
    </script>

    จากโครงสร้างด้านบนใช้ font() ในการสร้าง ตัวอักษร  ในตัวอย่างนี้เป็นอักษรแบบ italic (สามารถเลือกเปลี่ยนเป็น bold หรือ normal ก็ได้) ขนาด 40 px ใช้แบบอักษร เป็น  Calibri ลักษณะเป็นแบบ fillText (สามารถเลือกเปลี่ยนเป็น strokeText คือ แบบที่มีเฉพาะเส้นขอบ ก็ได้) โดยอักษรอยู่ที่พิกัด x,y

    ตัวอย่างที่ 5 การใส่ตัวอักษร
    <html>
    <body>
    <canvas id="myCanvas" width="200" height="100"
    style="border:5px solid pink;">
    Your browser does not support the canvas element.
    </canvas>
    <script>
    var c=document.getElementById("myCanvas");
    var ctx=c.getContext("2d");
    ctx.font="30px Arial";
    ctx.fillText("Hello Nerd",10,50);
    </script>
    </body>
    </html>
     

บทความที่น่าสนใจ

บทความ ล่าสุด

บทความ ความรู้ด้านไอที, คอมพิวเตอร์ Techonlogy, Gadget, ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กับทาง SoftMelt.com