
บทความ ที่น่าสนใจ
ปัจจัย 10 ประการที่ทำให้ผู้ประกอบการกู้เงินจากธนาคารไม่ได้
เพื่อให้ผู้ประกอบการพิจารณาดูว่าผู้ ประกอบการหรือธุรกิจของผู้ประกอบการมีปัจจัยหนึ่งปัจจัยใดอยู่บ้างหรือไม่ หรือมีทั้งหมดทุกปัจจัย จะได้ทราบว่าท่านซึ่งเป็นผู้ประกอบการจะมีโอกาสที่จะได้รับคำปฏิเสธ หรือต้องได้รับคำปฏิเสธจากธนาคารอย่างแน่นอนในการขอกู้เงิน เพื่อที่จะได้จัดการแก้ไขไม่ให้มีปัจจัยดังกล่าวอยู่ในตัวของท่านหรือธุรกิจ ก่อนที่ไปขอกู้เงินจากทางธนาคาร โดยปัจจัยดังกล่าวทั้ง 10 ประการประกอบด้วย
1. ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ถือเป็นปัจจัยส่วนใหญ่หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นปัจจัยมาตราฐานของการขอสิน เชื่อไม่ได้ของผู้ประกอบการ เนื่องจากในระบบธนาคารหรือสถาบันการเงินใดก็ตามจำเป็นต้องมีการเรียกหลัก ประกันสำหรับค้ำประกันสินเชื่อทั้งสิ้น เพียงแต่หลักประกันที่ธนาคารเรียกเพื่อการค้ำประกันสินเชื่อนั้นจะอยู่ในรูป แบบใดเท่านั้นเอง) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่มักเป็นรายเล็กๆซึ่งกำลังจะเริ่มดำเนินธุรกิจใหม่ หรือถ้าเริ่มดำเนินธุรกิจก็มักจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ทำให้ยังไม่มีฐานะการเงินที่มั่นคงเพียงพอที่จะมีหลักทรัพย์มาค้ำประกันสิน เชื่อในการดำเนินธุรกิจได้กับธนาคาร เช่น โฉนดที่ดิน, บ้าน, ห้องชุด หรือถ้าผู้ประกอบการมีอยู่แล้วซึ่งก็มักจะเป็นบ้านพักอาศัยก็มักจะติดจำนอง กับธนาคารในลักษณะของสินเชื่อเคหะ ซึ่งไม่สามารถนำมาจำนองเพิ่มเติมได้
2. ไม่มีประสบการณ์แต่เล็งผลเลิศ ถือเป็นปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ผู้ประกอบการใหม่หลายรายมักจะได้รับคำปฏิเสธจากธนาคาร กล่าวคือในการเริ่มดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะมาจากความชอบส่วนตัวหรือแรงบันดาลใจจากที่ใดก็ตาม เช่น จากหนังสือเกี่ยวกับ SMEs, จากหนังสือพิมพ์, จากการไปเห็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ก็มักจะเกิดความคิดที่ว่า “ถ้าเป็นเรา...ก็น่าจะทำได้” เช่น ไปเห็นร้านกาแฟหรือร้านเบเกอรี่มีลูกค้าเต็มร้าน ก็คิดว่าถ้าเป็นตนเองก็น่าจะเปิดร้านกาแฟหรือร้านเบเกอรี่บ้างแล้วมีลูกค้า แน่นร้านเหมือนผู้อื่นได้ ทั้งๆที่ตนเองไม่ชอบกินกาแฟหรือไม่มีความรู้ในการทำเบเกอรี่มาก่อนเลย หรือได้ยินว่าในช่วงนี้รัฐบาลส่งเสริมในเรื่องของการส่งออกก็เลยคิดว่าจะ เริ่มทำธุรกิจส่งออกทั้งๆที่ยังไม่เคยผลิตสินค้าใดๆมาก่อน หรือเคยทำธุรกิจส่งออก หรือแม้แต่ทำธุรกิจกับคนไทยด้วยกันเองเลย โดยรอความหวังว่ารัฐจะต้องเป็นผู้ให้การสนับสนุนแก่ตนเองในฐานะผู้ประกอบการ เป็นต้น โดยไม่มีการศึกษาให้รู้แจ้งเห็น จริงในธุรกิจที่ตนเองจะทำ หรือไม่เคยลองทำดูสักช่วงหนึ่งมาก่อนว่ามีปัญหาใดบ้างในการดำเนินการหรือ เป็นไปตามประมาณการที่ตั้งไว้หรือไม่
3. ไม่มีรายได้ให้ปรากฏ สิ่งนี้ก็ถือเป็นเป็นอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ สำหรับผู้ประกอบการ โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นรายที่เริ่มจะดำเนินการมาไม่นาน หรือได้ดำเนินการมาเป็นเวลาเนิ่นนานแล้วกล่าวคือ มักจะไม่มีการนำรายได้หรือรายจ่ายในการทำธุรกิจผ่านระบบธนาคาร โดยมักจะเป็นการซื้อขายกันด้วยเงินสดหักลบกลบหนี้กันแต่ละวัน โดยอาจเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในปัจจุบันนั้นมีอัตราที่ต่ำมาก การจะเข้าบัญชีธนาคารหรือไม่ก็มีผลเท่ากันแถมยังต้องเสียเวลาไปเข้าหรือเบิก ถอนจากธนาคาร และยังไม่สะดวกที่จะทำการเบิกถอนในวันเสาร์-อาทิตย์อีกในขณะที่ตนเองต้องทำ ธุรกิจทุกวัน ที่ดีขึ้นมาหน่อยก็อาจจะเข้าบัญชีออมทรัพย์ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็น บัญชีออมทรัพย์ในชื่อของเจ้าของ แต่ก็มักจะผสมปนเปกันกันไประหว่างค่าใช้จ่ายส่วนตัวกับค่าใช้จ่ายหรือรายได้ จากการดำเนินธุรกิจเพราะถือว่าเป็นกระเป๋าเดียวกัน จะมีเพียงน้อยรายที่เปิดบัญชีในนามห้างร้านหรือชื่อธุรกิจที่ตนทำและแยกการ ใช้จ่าย ระหว่างรายได้หรือค่าใช้จ่ายทางธุรกิจกับรายได้หรือค่าใช้จ่ายส่วนตัวอย่าง ชัดเจน (ในส่วนของห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคลแล้วเกือบทั้งหมด มักจะเปิดบัญชีในนามห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทเพราะต้องมีการสั่งจ่ายเช็ค และมักจะมีระบบบัญชีที่มีระบบกว่าผู้ประกอบ SMEs โดยส่วนใหญ่ทั่วไป)
4. ไม่มี Business Plan หรือแผนธุรกิจ การมีหรือการจัดทำ Business Plan หรือแผนธุรกิจนี้ถือเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่จะมีผลให้ผู้ประกอบการสามารถกู้ เงินจากธนาคารได้สำเร็จตามที่ต้องการ หรืออาจจะทำให้ได้รับคำปฏิเสธในกู้เงินจากทางธนาคารก็ได้เช่นเดียวกัน โดยเกือบทุกธนาคารถ้าเป็นการขอกู้เพื่อการทำธุรกิจทางธนาคารจะขอให้ผู้ประกอบการทุกรายจัดทำ Business Plan หรืออาจจะใช้คำพูดว่าเสนอโครงการเข้ามา ซึ่งถือเป็นเอกสารประกอบในการพิจารณาสินเชื่อว่าธุรกิจมีลักษณะในการดำเนิน การอย่างไร รายรับ-รายจ่ายเป็นเท่าใด การลงทุนในธุรกิจ จุดคุ้มทุน ผลกำไรของธุรกิจเป็นเท่าใดโดยเฉพาะการดำเนินการของธุรกิจต่อไปในอนาคต (ซึ่งในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำและความสำคัญของแผนธุรกิจโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งกับผู้ประกอบการ ซึ่งมีหลายเรื่องและหลายหัวข้อ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญโดยจะกล่าวถึงในโอกาสต่อไปในส่วนของความสำคัญของแผน ธุรกิจ เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจะจัดทำแผนธุรกิจเฉพาะตอนที่จะติดต่อขอกู้ กับทางธนาคารเท่านั้น ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วแผนธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการมีความสำคัญ และความจำเป็นในการดำเนินธุรกิจมากกว่าที่จะไว้ใช้เฉพาะตอนจะขอกู้เงินกับ ธนาคารเสียอีก)
5. มีประวัติหนี้ NPL การเป็นหรือเคยมีประวัติว่าเป็น NPL (Non Performing Loan) นั้น ปัจจัยข้อนี้แทบจะถือได้ว่าเป็นปัจจัยหลักในการปฏิเสธการให้กู้จากธนาคารเกือบ 100% โดยทั้งที่จริงแล้วแม้ว่าผู้ประกอบการจะเคยเป็น NPL ตั้งแต่สมัยยุคฟองสบู่แตก ไม่ว่าจะเป็นหนี้การกู้บ้าน, บัตรเครดิต หรือหนี้อะไรก็ตาม แต่ในปัจจุบันได้เริ่มต้นทำธุรกิจหรือดำเนินธุรกิจต่อมาเป็นระยะเวลาพอสมควร แล้ว เริ่มมีรายได้เพียงพอที่จะสามารถชำระหนี้ที่เคยเป็นอยู่ได้ แต่ทว่าเนื่องจากประวัติของผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบข้อมูลเครดิตจะแสดงผล ของชื่อผู้ประกอบการนั้นอยู่เสมอ ตราบใดที่ยังไม่มีการชำระหนี้ที่มีอยู่จนหมด ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่สินเชื่อตรวจสอบข้อมูลของผู้ประกอบการในเรื่องของการ ใช้สินเชื่อหรือข้อมูลทางการเงิน เช่น Credit Bureau หรือบริษัทข้อมูลเครดิต จะปรากฏชื่อของผู้ประกอบการในฐานะลูกค้าที่เป็น NPL หรือเป็นหนี้เสีย
6. ไม่รู้ต้นทุนหรือไม่รู้รายได้ ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะกับผู้ประกอบการ “มือใหม่” ซึ่งจะไม่ค่อยปรากฏกับผู้ประกอบการที่ได้เคยทำธุรกิจมาแล้ว เนื่องจากไม่สามารถคำนวณต้นทุนในการเริ่มต้นธุรกิจได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร อุปกรณ์ การตกแต่งปรับปรุง หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เช่น ค่าธรรมเนียม เงินเดือน ต้นทุนการผลิต ต้นทุนการซื้อสินค้า ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ทั้งก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจ ช่วงเริ่มต้นธุรกิจ และช่วงที่เริ่มดำเนินการธุรกิจแล้ว ซึ่งโดยส่วนใหญ่การประมาณการเกี่ยวกับต้นทุนธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการมือ ใหม่ดังกล่าว มักจะต่ำกว่าความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นค่อนข้างมาก หรือจะเป็นในทางที่คิดต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในทางที่น้อยที่สุด ในขณะที่เมื่อเริ่มทำธุรกิจไปแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายมักจะ เป็นไปในทางที่มากที่สุดอยู่เสมอหรืออาจจะเรียกว่า “งบบานปลาย”
7. ไม่รู้ข้อจำกัด ถือเป็นปัจจัยที่อาจเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการใหม่หรือเก่า ในการติดต่อขอกู้เงินจากทางธนาคาร ตัวอย่างเช่น ในเรื่องของธุรกิจที่ไม่ใช่ว่าทุกๆธนาคารไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์หรือ ธนาคารของภาครัฐจะให้วงเงินกู้กับทุกๆธุรกิจหรือให้บริการทุกๆด้านทางการ เงิน เช่น ธุรกิจที่ทำทางด้านการเกษตรพื้นฐานอาจติดต่อขอเงินกู้ได้เฉพาะจากธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์เท่านั้น เพราะธนาคารอื่นๆอาจจะปฏิเสธเนื่องจากไม่มีบริการเงินกู้เกี่ยวกับการเกษตร พื้นฐานดังกล่าว ในขณะที่ถ้าเป็นธุรกิจในรูปอุตสาหกรรมถ้าไปยื่นขอกู้กับธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์ ก็จะได้รับการปฏิเสธจากทางธนาคารเพราะว่าไม่มีบริการให้กู้แก่ธุรกิจ อุตสาหกรรม เป็นต้น
8. ไม่สามารถผ่อนชำระ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ธนาคารจะปฏิเสธการให้กู้แก่ผู้ประกอบการ ถ้าหากธนาคารได้พิจารณาแล้วว่าผู้ประกอบการหรือธุรกิจนั้นไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะผ่อนชำระเงินกู้ตามวงเงินที่ขอกู้ได้ ไม่ว่าจะเกิดจากการที่ธุรกิจมีกระแสเงินสดจากผลกำไรหรือผลการดำเนินการของ ธุรกิจ ที่ไม่เพียงพอหรือมียอดคงเหลือภายหลังการชำระเงินกู้แล้วคงเหลือน้อยเกินไป เกินกว่าที่จะใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจได้
9. ไม่มีการเตรียมตัว ถือเป็นปัจจัยที่อาจจะไม่ส่งผลร้ายแรงถึงระดับที่จะถูกปฏิเสธจากทางธนาคาร แต่บางครั้งก่อให้เกิดความล่าช้าในการติดต่อหรืออนุมัติวงเงินกู้จากทาง ธนาคาร ตัวอย่างเช่น การไม่มีเอกสารประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น งบการเงิน ใบอนุญาติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เอกสารเกี่ยวกับยอดขาย เอกสารเกี่ยวกับลูกค้า เอกสารเกี่ยวกับรายได้หรือรายจ่ายต่างๆ เพื่อใช้ประกอบในการพิจารณาการขอเงินกู้ เป็นต้น นอกจากนี้การไม่มีการเตรียมตัวในสิ่งที่เกี่ยวข้องหรือเอกสารประกอบกับการ กู้เงิน เช่น สำเนาบัญชีธนาคารย้อนหลัง การกำหนดหรือจัดทำสัญญาจะซื้อจะขาย เงื่อนไขต่างๆในการโอนทรัพย์สิน การจัดทำมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการติดต่อหรืออนุมัติวงเงินกู้จากทาง ธนาคาร หรืออาจเป็นกรณีที่ไม่มีการจัดเตรียมแผนธุรกิจไว้ก่อนล่วงหน้า
10. มีทัศนคติเชิงลบ ถือเป็นปัจจัยประการหนึ่งที่อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่สามารถกู้เงินจากทางธนาคารได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมาจากตัวผู้ประกอบการเองในเรื่องของทัศนคติ หรือการแสดงออกเกี่ยวกับการใช้บริการจากทางธนาคาร ซึ่งผู้ประกอบการอาจเคยมีประสบการณ์ที่เคยไปใช้บริการหรือติดต่อขอกู้เงิน จากธนาคารอื่นมาก่อนหน้าแล้วได้รับการปฏิเสธในการให้กู้ เมื่อผู้ประกอบการเหล่านี้มาติดต่อขอกู้เงินกับธนาคารแห่งอื่นก็มักบ่นหรือ ตำหนิเกี่ยวกับธนาคารก่อนหน้าที่ปฏิเสธการให้กู้ว่าไม่มีความรู้เข้าใจในตัว ธุรกิจของตน หรือเจ้าหน้าที่ธนาคารไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของธุรกิจ หรือจนถึงขั้นแสดงความเห็นว่าเจ้าหน้าที่ธนาคารโง่ไปเลยก็มี ซึ่งอาจรวมไปจนถึงการบ่นหรือตำหนิติเตียนเกี่ยวกับนโยบายต่างๆของทางธนาคาร หรือระบบสถาบันการเงิน ว่าไม่มีความจริงใจในการให้การช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ
ทัศนคติหรือการแสดงออกด้านลบเหล่านี้ของผู้ประกอบการอาจจะส่งผลให้ธนาคารพิจารณาว่าผู้ประกอบการดังกล่าวมีลักษณะเป็น “บุคคลเจ้าปัญหา” หรือก็ “เพราะคุณเป็นอย่างนี้ ธนาคารนั้นถึงได้ปฏิเสธ”
ดังนั้นสามารถสรุปปัจจัยทั้ง 10 ประการทั้งหมดซึ่งอาจกล่าวรวมทุกปัจจัยได้ว่า “8 ไม่ 2 มี” ก็คือ
1. ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
2. ไม่มีประสบการณ์แต่เล็งผลเลิศ
3. ไม่มีรายได้ให้ปรากฏ
4. ไม่มี Business Plan หรือแผนธุรกิจ
5. มีประวัติหนี้ NPL
6. ไม่รู้ต้นทุนหรือไม่รู้รายได้
7. ไม่รู้ข้อจำกัด
8. ไม่สามารถผ่อนชำระ
9. ไม่มีการเตรียมตัว
10. มีทัศนคติเชิงลบ

บทความ ล่าสุด
บทความ ความรู้ด้านไอที, คอมพิวเตอร์ Techonlogy, Gadget, ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กับทาง SoftMelt.com